
ความเป็นมา
![]() cf0e7825e5c14afc23da3435c5ac6483 | ![]() b9fb664680a49bb34fccb159e65bccf9 | ![]() f704e0ebaeeb9096c0b0272ae9aa536c |
---|---|---|
![]() dd05c0f24563199244e6ec96b33ae6ca | ![]() a735e85efdd059a824958d99a839f14a | ![]() 54468743858ddaea2dbcf845cdd7203a |
![]() 4361bad7f9960551aefe29294747e404 | ![]() 87a9df32e1f6bb07e9bf1a608aa65a9f | ![]() อัญมณี |
ต้นกำเนิดข้าวโพดอัญมณี สำหรับต้นกำเนิดของ ข้าวโพดอัญมณีแก้ว นั้นเริ่มขึ้นเมื่อ
นายคาร์ล บาร์นส์ เกษตรกรชาวเชอโรคี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน จากรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐฯ
เริ่มสังเกตเห็นว่าบางครั้งข้าวโพดในไร่ของเขาจะมีสีของเมล็ดที่ดูต่างไปจากปกติ เขาจึงได้เริ่มอุทิศชีวิตเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดขึ้น จนในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จและสามารถเพาะพันธุ์ ข้าวโพดอัญมณีแก้ว ที่ไม่ว่าใครได้เห็นเป็นต้องชื่นชมในความงดงามราวกับงานศิลป์มากกว่าจะเป็นเพียงธัญพืชของมัน จากนั้น ในปี 2553 ก่อนที่นายคาร์ลจะสิ้นใจ เขาได้ฝากข้าวโพดอัญมณีแก้วที่เขาเคยเก็บไว้แก่ นายเกรก สโคน นักเพาะพันธุ์ข้าวโพดเพื่อฝากภารกิจในการปกป้องสายพันธุ์ข้าวโพดอันงดงามที่เขาค้นพบไม่ให้สูญหายไป ซึ่งความหวังของนายคาร์ลก็เป็นจริง อีกทั้งข้าวโพดอัญมณีแก้วก็ยังได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนมีสีสันที่ตางจากสายพันธุ์ดั้งเดิมออกมาหลากหลายสีด้วยกัน จนกระทั่งในที่สุด เมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอัญมณีแก้วก็ถูกขายต่อให้แก่ นายบิล
แม็คดอร์แมน เจ้าของบริษัทเมล็ดพันธุ์ ซีด ทรัส ในรัฐแอริโซนา นายบิลที่รู้สึกประหลาดใจกับชื่อแปลกๆ ของข้าวโพดสายพันธุ์นี้จึงได้ลองนำเมล็ดบางส่วนมาปลูกดูและต้องทึ่งกับข้าวโพดที่สวยงามไม่ซ้ำใคร เขาจึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เหลือออกมาขายผ่านเว็บไซต์ของบริษัท พร้อมลงรูปของข้าวโพดที่สวยที่สุดสายพันธุ์นี้ไว้ด้วย ไม่ต้องสงสัยว่ามันก่อให้เกิดกระแสฮือฮาอย่างยิ่งในอินเทอร์เน็ต และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือก็ถูกขายหมดอย่างรวดเร็ว ในทุกฤดูที่วางขาย ทั้งนี้ นายบิลซึ่งก่อตั้งองค์กร Native Seeds/SEARCH ขึ้นเพื่อเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งอนุรักษ์มรดกทางการเกษตรจากกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน รวมถึงข้าวโพดอัญมณีแก้วนี้ด้วย ได้เผยว่า ข้าวโพดอัญมณีแก้วนี้เป็นข้าวโพดที่สามารถนำมารับประทานได้ แต่เนื่องจากมันเป็น ข้าวโพดหัวแข็ง
(flint corn) จึงมักจะนำมาทำเป็นป๊อปคอร์นและแป้ง ไม่นำมาต้มทานกันเพราะคนไม่นิยมทาน
จากซังโดยตรง และเขาก็จำหน่ายมันอยู่ที่ราคาแพ็คละ 7.95 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 250 บาท)